มาตรฐาน ISO คืออะไร และมีอะไรบ้าง ?
มาตรฐาน ISO คืออะไร
 

มาตรฐาน ISO คืออะไร และมีอะไรบ้าง ?

 
International Standards Organization หรื่อที่เราเรียกกันคุ้นหูว่า ISO คือชื่อขององค์การ มาตรฐานสากล หรือ องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน มีสำนักงานใหญ่ ตั้งอยู่ที่นครเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ ก่อตั้งเป็น ทางการเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 1947 (พ.ศ. 2490) ปัจจุบันมีสมาชิก 143 ประเทศ ซึ่งครั้งแรกนั้นมีผู้แทนจาก ประเทศต่าง ๆ 25 ประเทศร่วมประชุมกันที่ กรุงลอนดอนมีมติตั้งองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐานขึ้น และสหประชาชาติได้ให้ การยอมรับเป็นองค์การชำนาญพิเศษประเภทที่ไม่ใช่หน่วยงานของรัฐบาล โดย มีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมการกำหนดมาตรฐานระหว่างประเทศ และกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อการพัฒนา อุตสาหกรรมเศรษฐกิจ และขจัดข้อโต้แย้ง รวมถึงการกีดกัน ทางการค้าระหว่างประเทศ ตลอดจนการพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศ ในด้านวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหรือการจัดระเบียบการค้าโลก ด้วยการสร้าง มาตรฐานขึ้นมานั่นเอง มาตรฐาน คือ ข้อตกลงที่จัดททำขึ้นเป็นเอกสาร โดยการรวบรวมข้อมูลหรือข้อกำหนดทางเทคนิค (Technical Specifications) หรือวิธีการทำงาน ที่ถูกต้อง เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป แล้วร่วมกำหนดเป็นเกณฑ์ข้อบังคับขึ้นมา เป็นสิ่งนั้นๆที่จะทำให้เกิดความเชื่อมั่นว่า วัสดุผลิตภัณฑ์ขบวนการ หรือการบริการนั้นๆ บรรลุตามวัตถุประสงค์ ที่ต้องการ หรือ เกิดจากข้อกำหนดด้านวิธีการหรือการท างาน (Procedures manual หรือ Work Instruction) นั้นเอง
 

ประโยชน์ของ มาตรฐาน ISO
1. องค์กร/บริษัท

- การจัดองค์กร การบริหารงาน การผลิตตลอดจนการให้บริการมีระบบ และมีประสิทธิภาพ
- ผลิตภัณฑ์และบริการ เป็นที่พึงพอใจของลูกค้าหรือผู้รับบริการและได้รับการยอมรับ
- ก่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีแก่องค์กร
- ประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว
2. พนักงานภายในองค์กร/บริษัท
- มีการทำงานเป็นระบบ
- เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
- พนักงานมีจิตสำนึกในเรื่องของคุณภาพมากขึ้น
- มีวินัยในการทำงาน - พัฒนาการทำงานเป็นทีมหรือเป็นกลุ่มมีการประสานงานที่ดี และสามารถ
พัฒนาตนเองตลอดจน เกิดทัศนคติที่ดีต่อการทำงาน
3. ผู้ซื้อ/ผู้บริโภค
- มั่นใจในผลิตภัณฑ์และบริการ ว่ามีคุณภาพตามที่ต้องการ
- สะดวกประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายโดยไม่ต้องตรวจสอบคุณภาพซ้ำ
- ได้รับการคุ้มครองด้านคุณภาพความปลอดภัยและการใช้งาน
 
Member of International Standards Organization  (ISO)
 
International Standards Organization (ISO) ประกอบด้วยสมาชิก 3 ประเภท คือ

1. Member Body เป็นสถาบันมาตรฐานแห่งชาติ ซึ่งหมายถึง เป็นตัวแทนทางด้านการมาตรฐานของ ประเทศนั้น ๆ มีสิทธิออกเสียงในเรื่องของวิชาการ มีสิทธิเข้ารับการเลือกตั้งเป็นคณะมนตรี ISO และ สามารถเข้าร่วมประชุมสมัชชาใหญ่
 2. Correspondent Member เป็นหน่วยงานของประเทศก าลังพัฒนา ซึ่งยังไม่มีสถาบันมาตรฐานเป็นของ ตัวเอง สมาชิกประเภทนี้จะไม่เข้าร่วมในเรื่องของวิชาการ แต่มีสิทธิจะได้รับข่าวสารความเคลื่อนไหว ของ ISO และเข้าร่วมประชุมสมัชชาใหญ่ในฐานะผู้สังเกตการณ์
 3. Subscribe Membership สมาชิกประเภทนี้ เปิดสำหรับกลุ่มประเทศที่มีเศรษฐกิจค่อนข้างเล็กให้ สามารถติดต่อกับ ISO ได้
  มาตรฐานสากลที่รู้จักกันเป็นอย่างดีและนิยมนำมาใช้กันทั่วโลกคือ ISO 9001 ซึ่งเป็นมาตรฐานใน เรื่องของระบบบริหารคุณภาพที่น ามาใช้กับการผลิต, การบริการ และยังสามารถนำไปใช้กับหน่วยงานราชการโดย ไม่จำกัดขนาดขององค์กร สุดท้ายความร้อนแรงของมาตรฐานดังกล่าวก็แผ่วลง เนื่องจากหลายองค์กรได้รับมาตรฐานเหมือนกันหมด จนไม่สามารถนำไปใช้ในทางการตลาดได้ต่อมาเมื่อสังคมเริ่มตระหนักและให้ความสำคัญในเรื่องสิ่งแวดล้อมมาก ขึ้น ISO 14001 ก็เกิดขึ้น โดยเป็นมาตรฐานในการบริหารจัดการเรื่องของสิ่งแวดล้อม ซึ่งต่อมาถูกน ามาใช้ในทาง การตลาดในส่วนของ Green Marketing การดำเนินการทางการตลาดในส่วนของ Green Marketing ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากวิกฤตการณ์ภาวะโลกร้อน โดยมีเรื่องของการ ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ อันเป็นตัวการหลักที่ ก่อให้เกิดภาวะดังกล่าว นอกจากนี้จากการที่มีข้อกำหนดให้มีการลด การปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ในพิธีสารเกียวโต ส่งผลให้มีการซื้อขายคาร์บอนฯ หรือ Carbon Credit
  สำหรับในประเทศไทยมีการตื่นตัวในเรื่องของการลดการ ปล่อยก๊าซเรือนกระจก แม้ว่าประเทศไทยเองจะไม่ใช่ประเทศที่พิธีสาร เกียวโตมีข้อผูกพันธ์ด้วยหรือไม่มีผลบังคับใดๆ กับประเทศไทย แต่ ประเทศที่พิธีสารเกียวโตมีผลบังคับใช้ต่างพยายามลดการปล่อย คาร์บอนฯ รวมไปถึงการซื้อคาร์บอนเครดิตด้วย โดยองค์กรหลักที่ดูแล เรื่องคาร์บอนฯ ในเมืองไทยคือ “องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือน กระจก (องค์การมหาชน)” หรือเรียกย่อว่า อบก. ISO 14001 จึงถูกนำมาใช้เพื่อลดการปล่อยมลพิษออกสู่ชั้น บรรยากาศ แต่ถึงกระนั้นการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ก็ยังคงดำเนินอยู่ และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นจากการใช้พลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่ง แหล่งกำเนิดพลังงานส่วนใหญ่ใช้ความร้อนที่เกิดจากการใช้ถ่านหิน, น้ำมันและก๊าซธรรมชาติเหล่านี้ล้วนแต่เป็นตัวก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนฯ สู่ชั้นบรรยากาศ
ด้วยเหตุนี้จึงได้สร้างมาตรฐานใหม่ออกมา โดยใช้ชื่อ ISO 50001 ซึ่งหมายถึงมาตรการด้านการจัดการอนุรักษ์ พลังงาน โดยมีข้อก าหนดให้องค์กรที่ขอมาตรฐานนี้จะต้องมีแผนในการลดใช้พลังงานภายในองค์กร ไม่น้อยกว่า 20 % ทั้งในด้ายพลังงานไฟฟ้า และพลังงานน้ำมัน โดยมาตรฐานดังกล่าวจะเป็นในลักษณะสมัครใจไม่มีการบังคับ
  ระบบการจัดการตัวใหม่ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้ประกอบกิจการในอุตสาหกรรมอาหารและห่วงโซ่อาหาร คือ ISO 22000:2005 Food Safety Management System: FSMS ระบบการจัดการความปลอดภัยของ อาหาร ซึ่งมาตรฐาน ISO 22000 จะครอบคลุมทั้งข้อกำหนดของ GMP, HACCP และข้อกำหนดสำหรับระบบการ จัดการในองค์กร มาตรฐานดังกล่าวเน้นที่ผู้ประกอบการที่ต้องการพัฒนาการจัดการความปลอดภัยของอาหารให้มี ความชัดเจน โดยจะเป็นที่รวมของข้อกำหนดในมาตรฐานต่าง ๆ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เพื่อประกันความปลอดภัยของ สินค้าตลอดเส้นทางห่วงโซ่อาหาร โดยเน้นที่การสื่อสารร่วมกันระบบการจัดการและการควบคุมอันตราย
มาตรฐานที่กำลังได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการในขณะนี้ คือ ISO 26000 มาตรฐานสากลที่ว่าด้วยความ รับผิดชอบต่อสังคมให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันโดยไม่มีการบังคับ เป็นเพียงแนวปฏิบัติด้วยความสมัครใจ โดย มาตรฐานฉบับนี้มีแผนจะประกาศใช้ในปีพ.ศ. 2553 ส่งผลให้ISO 26000 ถูกจับตามองจากผู้ประกอบการใน ทุกๆ อุตสาหกรรม
ในอดีตที่ผ่านมา แต่ละประเทศ แต่ละหน่วยงาน และแต่ละองค์กรต่างมีแนวทางเป็นของตัวเองในการ ดำเนินการด้านรับผิดชอบต่อสังคมทำให้เกิดความเข้าใจที่ไม่ตรงกันส่งผลให้องค์กรด้านมาตรฐานสากลระหว่าง ประเทศอย่าง ISO (International Organization for Standardization) ได้ตั้งคณะทำงานเพื่อกำหนดมาตรฐาน ว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมหรือเรียกว่า ISO 26000 ขึ้นมาเพื่อกำหนดให้เป็นมาตรฐานที่สามารถสื่อสารกับ คนทั้งโลกด้วยความเข้าใจที่ตรงกัน
 หลักการ 7 ข้อของ ISO 26000 นั้นประกอบด้วย
1) ความรับผิดต่อสังคมที่สามารถตรวจสอบได้ (Accountability)
2) ความโปร่งใส (Transparency)
3) ความมีจริยธรรม (Ethical)
4) การรับฟังผู้ที่มีส่วนได้ส่วน เสียในทุกๆ ฝ่าย อาทิชาวบ้านในชุมชน (Respect for and considering of stakeholder interests)
5) การ ปฏิบัติตามหลักนิติธรรม (Respect for rule of law)
6) การยอมรับในมาตรฐานสากล (Respect for international norms) และ
7) การเคารพสิทธิมนุษยชน (Respect for human rights)
 
มาตรฐาน ISO ที่สำคัญ
 

มาตรฐาน ISO ที่สำคัญ

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้รับเอาระบบคุณภาพอนุกรมมาตรฐานสากล ISO มาใช้ใน การปรับปรุงพัฒนาคุณภาพในการบริหารองค์กรโดยมาตรฐาน ISO ที่สำคัญได้แก่
 1. มาตรฐาน ISO 9000 มาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ
โครงสร้างของอนุกรมมาตรฐาน ISO 9000 แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มมาตรฐานข้อกำหนด ใช้เพื่อขอรับการรับรองคือ
1.1. ISO 9001 มาตรฐานระบบการบริหารงานคุณภาพ ใช้สำหรับองค์กรที่มีความรับผิดชอบ ตั้งแต่การออกแบบ การผลิต การติดตั้ง และการบริการ
1.2. ISO 9002 มาตรฐานระบบการบริหารงานคุณภาพ ใช้สำหรับองค์กรที่มีความรับผิดชอบ ตั้งแต่การผลิต การ ติดตั้ง และการบริการ
1.3. ISO 9003 มาตรฐานระบบการบริหารงานคุณภาพ ใช้สำหรับองค์กร ที่มีความรับผิดชอบเฉพาะการตรวจ และการทดสอบขั้นสุดท้าย
กลุ่มมาตรฐานข้อแนะนำ ใช้เพื่อสนับสนุนการน ามาตรฐานไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีมาตรฐานหลัก 2 ฉบับ คือ
1. ISO 9000 แนวทางการเลือกและการใช้มาตรฐานในอนุกรม ISO 9000
2. ISO 9004 เป็นข้อแนะนำในการจัดระบบการบริหารงานคุณภาพ เพื่อให้องค์กรผู้ใช้มาตรฐานได้มีระบบที่มี ประสิทธิภาพสูงสุด
 โครงสร้างใหม่ของอนุกรมมาตรฐาน ISO 9000 : 2000
ในปี 1996 ISO/TC 176 ได้เริ่มทบทวนแก้ไขครั้งที่ 2 และประกาศใช้มาตรฐานฉบับแก้ไขใหม่ ปี 2000 เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2543 เพื่อให้เหมาะสมสอดคล้องกับกระบวนการของระบบการบริหารงานขององค์กร ซึ่ง มุ่งเน้นการสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า และให้มีการปรับปรุงสมรรถนะขององค์กรอย่างต่อเนื่อง ตลอดจน เพื่อให้สามารถ นำไปปรับใช้ร่วมกับระบบการบริหารงานอื่นได้ มาตรฐานระบบการบริหารงานคุณภาพ ISO 9000 : 2000 ประกอบด้วยมาตรฐานหลัก 3 ฉบับ ได้แก่
1. ISO 9000 : ระบบการบริหารงานคุณภาพ - หลักการพื้นฐานและค าศัพท์
2. ISO 9001 : ระบบการบริหารงานคุณภาพ - ข้อก าหนด
3. ISO 9004 : ระบบการบริหารงานคุณภาพ – แนวทางการปรับปรุงสมรรถนะขององค์กร
 
2. มาตรฐาน ISO 14000 มาตรฐานการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม เป็นมาตรฐานที่นำไปใช้กับการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กรให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ทั้งในส่วนของ กิจการภายใน การผลิตสินค้า และการจัดการเรื่องผลกระทบ หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ ครอบคลุมถึงระบบโครงสร้างองค์กร การกำหนดความรับผิดชอบ การปฏิบัติงาน ระเบียบปฏิบัติ กระบวนการ ดูแลทรัพยากร มาตรฐาน ISO 14000 นี้ สามารถใช้ได้กับทั้งระบบอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ เช่นเดียวกับ ISO 9000 ทั้งนี้เพราะในแต่ละองค์กรมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งสิ้น และ สมอ.ได้น ามาประกาศใช้ในประเทศ ไทย เมื่อปี 2540 ในชื่อ "อนุกรมมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม มอก.-ISO 14000" อนุกรมมาตรฐาน มอก.-ISO 14000 มีเนื้อหาแบ่งออกได้ ดังนี้
มาตรฐานระบบการบริหาร (Environmental Management Systems: EMS) ได้แก่ ISO 14001 เป็นข้อกำหนดระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
ISO 14004 เป็นข้อแนะนำด้านหลักการและเทคนิคในการจัดระบบ
ISO 14010 เป็นหลักการทั่วไปของการตรวจประเมิน
ISO 14011 เป็นวิธีการตรวจประเมินระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม
ISO 14012 เป็นข้อกำหนดคุณสมบัติของผู้ตรวจประเมิน
ISO 14020 เป็นหลักการพื้นฐานในการติดฉลากผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม
ISO 14021 เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์และสัญลักษณ์ให้ผู้ผลิตสินค้าและบริการสามารถประกาศรับรองตนเองได้ ว่าได้ผลิตสินค้าและบริการที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ISO 14024 เป็นหลักการ ระเบียบปฏิบัติข้อกำหนดและวิธีการรับรองผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมของหน่วยรับรอง
ISO 14040 เป็นหลักการพื้นฐานและกรอบการดำเนินงาน
ISO 14041 เป็นการรวบรวมข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม
ISO 14042 เป็นการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ISO 14043 เป็นการแปรผลที่ได้จากข้อมูล
 
3. มาตรฐาน ISO 17025 มาตรฐานการประเมินความสามารถทางวิชาการของ ห้องปฏิบัติการ
ISO/IEC 17025 คือ มาตรฐานสากลซึ่งเป็นการประเมินความสามารถทางวิชาการของห้องปฏิบัติการ ISO/IEC 17025 ครอบคลุมทุกด้านของการบริหารจัดการห้องปฏิบัติการ ตั้งแต่การเตรียมตัวอย่างถึงความชำนาญในการ วิเคราะห์ทดสอบ ถึงการเก็บบันทึกและการรายงานผล มาตรฐานนี้เน้นองค์ประกอบหลายด้านแต่ไม่ได้จำกัดเฉ พะแค่ด้านเหล่านี้ ซึ่งได้แก่ระบบคุณภาพของห้องปฏิบัติการ การควบคุมเอกสาร การปฏิบัติการแก้ไขและ ป้องกัน สถานที่และภาวะแวดล้อม เครื่องมือ การประมาณค่าความไม่แน่นอน หลักฐานความสอบกลับได้การ สุ่มตัวอย่างและอื่นๆ
 
4. มาตรฐาน ISO 18000 มาตรฐานการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
มาตรฐานระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย สมอ.ได้น ามาใช้ภายในประเทศก่อนที่ ISO จะ ประกาศใช้อย่างเป็นทางการ โดยน าเอาเกณฑ์มาตรฐาน BS8800 ของอังกฤษมาใช้เป็นแนวทางในการจัดทำ ซึ่ง ครอบคลุมถึงแนวทางในการป้องกันมิให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพและอุบัติเหตุต่างๆ ต่อผู้ปฏิบัติงานและต่อสังคม โดยรวมทั้งภายในและภายนอกองค์กรตลอดจนรวมทั้งชุมชนใกล้เคียงวัตถุประสงค์ของมาตรฐานนี้กกำหนดขึ้นเพื่อ ใช้เป็นเกณฑ์ในการจัดทำระบบการจัดการอาชีวะอนามัยและความปลอดภัยขององค์การ และพัฒนาปรับปรุง ระบบให้ดียิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่องในด้านต่าง ๆ คือ
1. ลดความเสี่ยงต่ออันตราย และอุบัติเหตุต่าง ๆ ของพนักงานและผู้เกี่ยวข้อง
2. ปรับปรุงการด าเนินงานของธุรกิจให้เกิดความปลอดภัย
3. ช่วยสร้างภาพพจน์ความรับผิดชอบขององค์การ ต่อพนักงานภายในองค์การเอง และต่อสังคม
 อนุกรมมาตรฐาน มอก. 18000 แบ่งออกเป็น 2 เล่ม ดังนี้
1. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ข้อก าหนด ตามมาตรฐาน เลขที่ มอก. 18001-2542 (Occupational health and safety management system : specification)
2. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ข้อแนะน า ทั่วไปเกี่ยวกับหลักการระบบและเทคนิคในทางปฏิบัติ ตามมาตรฐาน เลขที่ มอก. 18004 (Occupational health and safety management systems : general guidelines on principle, systems and supporting techniques)
 
5. มาตรฐาน ISO 22000 มาตรฐานการจัดการความปลอดภัยของอาหาร
ISO 22000:2005 Food Safety Management System: FSMS ระบบการจัดการความปลอดภัยของ อาหาร ครอบคลุมทั้งข้อกำหนดของ GMP, HACCP และข้อกำหนดสำหรับระบบการจัดการในองค์กร มาตรฐานดังกล่าว เน้นที่ผู้ประกอบการที่ต้องการพัฒนาการจัดการความปลอดภัยของอาหารให้มีความชัดเจน โดยจะเป็นที่รวมของ ข้อกำหนดในมาตรฐานต่าง ๆ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เพื่อประกันความปลอดภัยของสินค้าตลอดเส้นทางห่วงโซ่อาหาร โดยเน้นที่การสื่อสารร่วมกันระบบการจัดการและการควบคุมอันตราย มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1. ประกันว่ามีการกำหนดรายละเอียดการตรวจสอบเพื่อความปลอดภัยของอาหารอย่างถูกต้องเหมาะสม และมีกระบวนการควบคุมตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพในทุกขั้นตอน โดยอาศัยข้อมูลจากการสื่อสาร ระหว่างผู้มีส่วนร่วมในห่วงโซ่อาหารทุกราย
2. ให้ข้อมูลและหลักฐานตามความต้องการของลูกค้าและตัวแทนจำหน่ายในด้านความเป็นไปได้ความ จำเป็น และผลกระทบที่มีต่อผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายโดยอาศัยข้อมูลจากการสื่อสารระหว่างลูกค้าและ ตัวแทนจ าหน่าย สำหรับประเทศไทยได้จัดตั้งหน่วยงานขึ้นมารับผิดชอบในเรื่องมาตรฐานของประเทศ เรียกว่า สำนักงานมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) (Thai Industrial Standard Institute: TISI) สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อปี พ.ศ. 2511 (สำหรับมาตรฐานที่ใช้ควบคุมผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเรียกว่า มาตรฐานอุตสาหกรรม : มอก.) และ สมอ. ได้ประกาศใช้อนุกรมมาตรฐาน ISO 9000 ในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2534 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 108ตอนที่ 99 วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2534 โดยใช้ชื่อว่า อนุกรมมาตรฐานระบบคุณภาพ มอก . - ISO 9000 ในปีพ.ศ. 2542 มาตรฐาน ISO ยังมีอีกมากมายหลายมาตรฐานที่ยังไม่ได้กล่าวถึง แต่ในวงการมาตรฐาน ISO ยังคงมีการพัฒนา ต่อไปในอนาคตข้างหน้า เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีความต้องการไม่สิ้นสุด
 

ตัวอย่างเอกสาร ISO ของบริษัท ต.วิชชุกรณ์ จำกัด

 
ISO Documents
 
References
1. sarakadee.com
2. uhost.rmutp.ac.th
3. guru.sanook.com
4. guru.google.co.th
5.pattanakit.net
6. thai blogonline.com
7. reo16.mnre.go.th
 
QR LINE