การทดสอบแบบ TYPE TEST คืออะไร
การทดสอบแบบ TYPE TEST คืออะไร

การทดสอบแบบ TYPE TEST คืออะไร

Fully Type-Tested Assembly ชนิด License คำตอบของการเลือกผู้ผลิตที่ได้มาตราฐาน เพื่อบรรลุเป้าหมายด้านวิศวกรรม ในเรื่องความปลอดภัย ความเชื่อถือ ความมั่นคง ความมีเสถียรภาพ ต่อระบบไฟฟ้า มาตรฐาน TYPE TEST เป็นมาตรฐานการทดสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีขั้นตอนมากและยังเป็นการทดสอบที่มีการวัดค่าความแข็งแรงและการป้องกันที่มีมาตรฐานสูง ซึ่งปัจจุบันการทดสอบTYPE TESTยังไม่มีหน่วยงานใดภายในประเทศไทยที่สามารถจัดการทดสอบตามมาตรฐานนี้ได้ ดังนี้ผู้ผลิตที่ได้รับ License มาตรฐานTYPE TEST ที่ผลิตอยู่ภายในประเทศไทยจึงต้องทำการยื่นขอการทดสอบแก่หน่วยงานที่อยู่ต่างประเทศเท่านั้น
มาตรฐาน TYPE TEST สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือแบบที่ทำการทดสอบทั้งหมด (TTA) และ การทดสอบบางชิ้นส่วน (PTTA) ซึ่งมีข้อดีข้อเสียต่างกันอย่างคร่าวๆดังนี้

 
การทดสอบTYPE TEST แบบบางชิ้นส่วน(PTTA)
1.การทดสอบแบบบางชิ้นส่วน(PTTA)
ตู้ MDB Main Distribution Board สามารถเข้ารับการทดสอบ type-tested assembly (TTA) หรือจะส่งเฉพาะบางชิ้นส่วนของตู้ตู้ MDB Main Distribution Board ก็ได้ ที่เรียกว่า partially type-tested assembly (PTTA)
ข้อดี-เนื่องจากทดสอบเพียงบางชิ้นส่วน ขั้นตอนการทดสอบ ตลอดจนอุปกรณ์และเทคนิคที่ใช้ทดสอบจึงมีไม่มาก จึงรวดเร็วและต้นทุนในการทำการทดสอบจึงไม่สูงมาก
ข้อเสีย-การทดสอบบางชิ้นส่วน (PTTA) นี้เป็นการทดสอบมาตรฐานของวัสดุหรืออุปกรณ์ที่นำมาเข้าประกอบ ซึ่งจะนำมาใช้วัดเป็นมาตรฐานความปลอดภัยอย่างแท้จริงยังไม่ได้เพราะขั้นตอนการทดสอบไม่ได้รวมถึงการออกแบบ การประกอบ และการใช้งานจากอุปกรณ์นั้นทั้งระบบอย่างการทดสอบแบบทั้งหมด (TTA)
 
การทดสอบTYPE TEST แบบทดสอบทั้งหมด (TTA)
2.การทดสอบแบบทดสอบทั้งหมด (TTA)
แบบ TYPE TEST คือการประกอบอุปกรณ์ (ตู้ MDB Main Distribution Board ) ตามแบบที่ได้ทำการส่งทดสอบ ซึ่งได้รับการยืนยันว่าผ่านตามมาตราฐานการทดสอบแบบTYPE TESTแล้ว โดยผู้ผลิตจะต้องประกอบอุปกรณ์ถอดตามแบบดั่งเดิมตามที่เคยส่งทดสอบอันได้รับมาตราฐานดังกล่าวนั้น ดังนี้ถ้ามีการประกอบอุปกรณ์ (ตู้ MDB Main Distribution Board ) ซึ่งผิดไปจากแบบที่ได้เคยยื่นส่งตรวจมาตรฐานดังกล่าว จะไม่สามารถอ้างมาตรฐาน TYPE TEST แก่อุปกรณ์อันประกอบผิดไปจากแบบดั่งเดิมได้
ข้อดี-เนื่องจากทดสอบแบบทั้งหมดนี้เป็นการทดสอบการทดลองใช้งานจากอุปกรณ์เต็มรูปแบบ ซึ่งต้องวัดประสิทธิภาพของอุปกรณ์ทุกชิ้นที่ประกอบเข้ากัน ทั้งแบบโครงสร้าง วัสดุอุปรณ์ที่ใช้ โดยตรวจสอบจากผลลัพธ์ของขีดวัดสูงสุดของมาตรฐานในส่วนชิ้นงานนั้นๆ
ข้อเสีย-การทดสอบแบบทั้งหมด (TTA) นี้เป็นการทดสอบมาตรฐานของวัสดุหรืออุปกรณ์ทุกชิ้นและมีขั้นตอนที่มาก ใช้ความชำนาญด้านเทคนิคมากและใช้อุกรณ์เยอะ ทั้งยังต้องสำรองอุปกรณ์ที่จะใช้ในการทดสอบอีก จึงทำให้ต้นทุนในการทำการทดสอบสูงมาก โดยผู้ผลิตที่ได้รับ License TYPE TEST (TTA) จะอ้างมาตรฐานนี้ได้ต้องเป็นการอ้างต่อผลิตภัณฑ์ที่ผลิตตามแบบที่ได้ยื่นขอมาตรฐานไว้โดยต้องผลิตให้ตรงตามแบบเท่านั้น ถ้ามีการแก้ไขแบบหรือผลิตไม่ตรงตามแบบที่เคยยื่นขอมาตรฐานไปก็จะไม่สามารถอ้าง License TYPE TEST (TTA) ได้
 
หลักการทดสอบ TYPE TEST โดยคร่าวๆ
หลักการทดสอบ TYPE TEST โดยคร่าวๆมีดังนี
•การตรวจสอบขีด จำกัด อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น
•การตรวจสอบคุณสมบัติของฉนวน
•การตรวจสอบความต้านทานต่อการลัดวงจร
•การตรวจสอบประสิทธิภาพของวงจรป้องกัน
•การตรวจสอบระยะห่างตัวนำเฟสต่อเฟส
•การตรวจสอบการทำงานของเครื่องจักรกล
•การตรวจสอบระดับการป้องกันและการแยกภายใน
1.การทดสอบอุณหภูมิเพิ่มขึ้น
การทดสอบการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิจะดำเนินการทดสอบในขณะที่ตู้ไฟฟ้ากำลังทำงาน โดยอุณหภูมิที่วัดได้จะต้องไม่เกินอุณหภูมิที่อาจจะก่อให้เกิดอันตราย โดยอนุญาตให้มีอุณหภูมิโดยรอบสูงถึง 35 องศาเซลเซียส และ อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น 70 องศาใช้สำหรับทดสอบฉนวนภายนอก ดังนั้นในส่วนองค์ประกอบของตู้ไฟฟ้าเช่นการจัดวางสวิตช์ระบบ การระบายอากาศและชิ้นส่วน ล้วนมีผลต่อการออกแบบและมีต่อผลการทดสอบ ดังนั้นควรมีการทบทวนการจัดเตรียมแผงและส่วนประกอบต่างๆเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐาน
2.การทดสอบชนิดของฉนวนไฟฟ้า
การทดสอบความเป็นฉนวนด้วยการใช้ระดับแรงดันไฟฟ้าวัดความทนทานสำหรับในการใช้งานทั้งในส่วนวงจรหลักและอุปกรณ์เสริมที่เป็นสื่อกระแสไฟฟ้า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมการวัดสัญญาณ ข้อมูล กระบวนการ ว่ายังคงเป็นไปอย่างปรกติ
3.การทดสอบการลัดวงจร
ต้องมีการทดสอบการลัดวงจรในส่วนประกอบทั้งหมดของชุดประกอบ โดยการทดสอบการทนต่อการลัดวงจรเพื่อตรวจสอบความสามารถของชุดประกอบ รวมทั้งบัสบาร์ตามเงื่อนไขของผู้ผลิต โดยการทดสอบการลัดวงจรนี้จะเริ่มที่วงจรขาเข้าและระบบบัสบาร์ เพื่อตรวจสอบความผิดปกติของวงจรขาออก ในการทดสอบนี้ถ้าแผงไฟหลักติดตั้งอยู่ใกล้กับแหล่งจ่ายไฟหลักมาก อาจจะก่อให้เกิดความผิดพลาดสูง ในกรณีที่มีรางหุ้มฉนวนต้องคำนึงถึงลักษณะความร้อนด้วย
4.วงจรป้องกัน
วงจรป้องกันในตู้ไฟฟ้าทีสองจุดที่จะพิจารณา ส่วนแรกคืออุปกรณ์ที่ใช้ในวงจรซึ่งอาจเป็นสื่อไฟฟ้าจะต้องต่อเข้ากับระบบสายดินทั้งหมด เพื่อป้องกันอัตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้แก่บุคคลทีอยู่ใกล้หรือสัมผัส และเพื่อเป็นการป้องกันอันตรายจากกระแสไฟฟ้าที่ส่งลงดินโดยไม่สมบูรณ์
ในส่วนของอุปกรณ์หรือชิ้นส่วนอื่นๆของตู้ไฟฟ้าที่ไม่ได้เป็นตัวสื่อนำไฟฟ้าก็จะมีการตรวจสอบเรื่องความแข็งแรงการติดตั้ง ว่ายึกติดดีไหม แข็งแรงไหม
5.การตรวจสอบระยะห่างและระยะช่องว่างภายใน
การตรวจสอบระยะห่างและระยะช่องว่างภายในของอุปกรณ์ภายในตู้ไฟฟ้านั้นจะเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ของผู้ผลิต โดยระยะห่างขั้นต่ำระหว่างชิ้นส่วนต่างๆ ภายในตู้ไฟฟ้านั้นต้องเป็นไปรูปแบบตามที่ได้ออกแบบมาโดยมีการใช้ชุดประกอบและวัสดุฉนวน ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่ต้องพิจารณาในการคำนวณระยะห่างและระยะช่องว่างภายใน ซึ่งต้องคำนึงถึงระดับการก่อให้เกิดมลภาววะของสิ่งแวดล้อม ความต้านทานแรงดันไฟฟ้าวัสดุฉนวน และสนามไฟฟ้าภายในชุดประกอบ
สำหรับระยะห่างและระยะช่องว่างภายในของอุปกรณ์ภายในตู้ไฟฟ้า จะใช้วัดได้จากระดับมลพิษที่แบ่งออกเป็นสี่ระดับเพื่อบ่งบอกถึงสภาพแวดล้อมในการประกอบ
มลภาวะ 1: ไม่มีมลภาวะ ไม่ก่อสื่อนำไฟฟ้าใดๆ
ระดับมลพิษ 2: สภาพปกติ ไม่ก่อสื่อนำไฟฟ้าใดๆ อย่างไรก็ตามบางครั้งอาจเป็นการนำไฟฟ้าชั่วคราวเพราะสาเหตุที่เกิดจากการควบแน่นได้
ระดับมลพิษ 3: เกิดมลภาวะ ที่เป็นสาเหตุทำให้เป็นสื่อกระแสไฟฟ้าเนื่องจากการควบแน่น
ระดับมลพิษ 4: มลพิษสร้างความนำไฟฟ้าที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นฝุ่นละอองหรือฝนหรือหิมะ
ระดับมลพิษมาตรฐานสำหรับการใช้งานในภาคอุตสาหกรรมโดยทั่วไปคือระดับมลภาวะ 3
ระยะห่างและระยะช่องว่างภายในของอุปกรณ์ภายในตู้ไฟฟ้า สามารถกำหนดได้จากแบบที่ตรงตามมาตรฐานและได้รับการทดสอบโดยการตรวจสอบถึงแรงดันไฟฟ้า และความเป็นฉนวนของตู้ไฟฟ้าที่มีระดับมลภาวะที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตั้งและกลุ่มวัสดุที่วัสดุฉนวนอยู่
6.การทำงานกลไก
สำหรับการทดสอบสมรรถนะทางกลไก จะพิจารณาจากอุปกรณ์ที่รวมอยู่ในตู้ไฟฟ้าที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นไปตามมาตรฐานของผู้ผลิตและจะต้องไม่มีความผิดพลาดในการทดสอบ สำหรับอุปกรณ์อื่นที่ได้รับการออกแบบมาเฉพาะสำหรับตู้ไฟนั้นๆ ควรมีการทดสอบขั้นต่ำ 50 ขั้นตอน การดำเนินงานเชิงกลโดยผู้ผลิตประกอบและควรมีการบำรุงรักษาสมรรถนะทางกลเมื่อสิ้นสุดการทดสอบ โดยทั่วไปการประกอบจะต้องทำเฉพาะวัสดุที่ทนทานทางไฟฟ้าและความร้อนรวมทั้งผลกระทบจากความชื้นที่อาจพบได้ในการให้บริการตามปกติ ทั้งการป้องกันการกัดกร่อนต้องได้รับการรับรองโดยการใช้วัสดุที่เหมาะสมหรือโดยการใช้สารเคลือบป้องกันที่เทียบเท่ากับพื้นผิวที่สัมผัสโดยคำนึงถึงสภาวะการใช้และการบำรุงรักษาที่ตั้งใจไว้
สิ่งที่แนบหรือพาร์ติชันรวมทั้งวิธีการล็อคประตูประตูส่วนที่ถอดออกได้ ต้องมีความแข็งแรงเชิงกลเพียงพอที่จะทนทานในให้การบริการตามปกติ
อุปกรณ์และวงจรในตู้ไฟฟ้าจะต้องจัดให้ง่ายในใช้งานและบำรุงรักษาได้และในขณะเดียวกันจะต้องให้ความปลอดภัยตามที่กำหนดไว้ด้วย
7.ระดับการป้องกัน
ระดับของการป้องกันที่ได้รับจากชุดใดที่มีการสัมผัสกับชิ้นส่วนที่มีชีวิตและการซึมผ่านของสิ่งแปลกปลอมและของเหลวที่เป็นของแข็งจะระบุโดยการระบุ IP
การตีความทั่วไปของหมายเลข IP อยู่ในแง่ของการป้องกันภายนอกของตู้ไฟฟ้าว่าขนาดของฝุ่นหรือความชื้นใด ๆ ที่นอกจากที่กำหนดไว้นั้นแม้จะเข้าไปในตู้จะไม่เป็นอันตรายและในการให้บริการตามปกติผู้ปฎิบัติงานจะต้องไม่สัมผัสกับชิ้นส่วนที่มีอันตรายได้
 
References
1. AS/NZS 3439.1:2002
2. Beama Guide to Forms of Separation; July 2011
3. Beama Guide to TTTA & PTTA
4. The article of Mr.Techathus Buranaussawasakul
 

ตัวอย่างงาน TYPE TEST บริษัท ต.วิชชุกรณ์จำกัด

ASTA FULL TYPE TEST 5000A

 หนังสือรับรองมาตรฐาน Fully Type-Tested Assembly ของบริษัท ต.วิชชุกรณ์จำกัด

หนังสือรับรองTYPE TEST ASTA 5000A
line  QR