การตรวจสอบบำรุงรักษาอุปกรณ์ และการตรวจเช็คระบบตู้ไฟฟ้าเบื้องต้น
การตรวจสอบบำรุงรักษาอุปกรณ์ และการตรวจเช็คระบบตู้ไฟฟ้าเบื้องต้น

Maintaining and Inspection Electrical Equipment For Main Distribution Board
การตรวจสอบบำรุงรักษาอุปกรณ์ และการตรวจเช็คระบบตู้ไฟฟ้าเบื้องต้น

บทที่หนึ่ง-การดูแลตรวจสอบทั่วไป (แผงวงจรหลัก)

บทที่หนึ่ง-การดูแลตรวจสอบทั่วไป (แผงวงจรหลัก)


1.1.เริ่มตั้งแต่ป้ายชื่อหน้าห้องไฟฟ้าต้องชัดเจน
1.2.สายไฟฟ้า ให้สังเกตดูฉนวน สี รอยแตก อุณหภูมิ หากผิดปกติควรเปลี่ยนใหม่
1.3.ซอร์กิดเบรคเกอร์ให้ใช้หลังมือ และดูอุณหภูมิ หากสูงผิดปกติก็ควรตรวจแก้ไข
1.4.ขั้วต่อสาย ให้ใช้หลังมือและดูอุณหภูมิตัวเบรกเกอร์ หรือใช้ตัววัดอุณหภูมิแบบใช้แสง หากผิดปกติก็ควรขันให้แน่น และตรวจสายไฟฟ้าที่ใช้งานรวมทั้งพิกัดโหลด
1.5.ถ้าเป็นระบบเปิดต้องติดตั้งระบบระบายอากาศถ่ายเทที่ดี
1.6.ถ้าเป็นระบบปิดต้องติดตั้งระบบเครื่องปรับอากาศ โดยป้องกันอากาศจากภายนอกเข้าไปในห้องควบคุม
1.7.ทดสอบกลไกการทริบ
1.8.ทำความสะอาด
1.9.ร่องรอยของความร้อน
1.10.การต่อหรือขั้วต่อโดยดูการเปลี่ยนสี
1.11.การตั้งค่าของ trip unit
1.12.ฝาปิดเปิดหลวมหรือความเสียหาย
1.13.หลอดไฟแสดงสภาวะการทำงานต่าง ๆ ใช้ได้หรือไม่
1.14.มิเตอร์ อุปกรณ์เครื่องวัดต่าง ๆ ใช้งานได้หรือไม่
1.15.Busbar สายชำรุดหรือไม่
1.16.สายดิน ระบบการต่อลงดิน
1.17.สิ่งกีดขวางพื้นที่ว่างในการปฏิบัติงาน
-ควรมีที่ว่างในการปฏิบัติงานอย่างเพียงพอห่างจากกำแพง 1.05 ม.กรณีมีตู้เมน 1 ตู้
-ควรมีที่ว่างในการปฏิบัติงานห่างกันประมาณ 1.20 ม. กรณีมีตู้เมน 2 ตู้
-ต้องมีทางเข้าอย่างน้อย 1 ทาง กว้างมากกว่าหรือเท่ากับ 0.60 ม. และสูง มากกว่าหรือเท่ากับ 2.00 ม.
-ต้องมีทางเข้าอย่างน้อย 2 ทางในกรณีตู้เมนค่อนข้างกว้าง ประมาณ 1.80 ม. เพราะถ้ามีทางเข้าทางเดียวอาจก่อให้เกิดอันตรายได้
-ที่ว่างเพื่อปฏิบัติงานต้องเพียงพอสำหรับการเปิดประตูตู้หรือฝาตู้ได้อย่างน้อย 90 องศาในทุกกรณี
-ระยะห่างระหว่างแผงสวิตซ์แรงต่ำกับเพดาน ในกรณีเพดานทนไฟมากกว่า 0.60 ม. ในกรณีเพดานไม่ทนไดมากกว่า 0.90 ม.
 
บทที่สอง-การดูแลตรวจสอบทั่วไป (แผงวงจรย่อย)


บทที่สอง-การดูแลตรวจสอบทั่วไป (แผงวงจรย่อย)


1.ฝาปิดเปิดหลวมหรือความเสียหาย
2.ตรวจขันขั้วต่อสายให้แน่นเสมอ
3.Busbar สาย ชำรุด หรือมีรอยบาด มีรอยArc
4.สายดิน ระบบการต่อลงดิน ถูกต้องหรือไม่
5.ความร้อน การระบายอากาศ
6.สิ่งกีดขวาง พื้นที่ว่างในการปฏิบัติงาน ต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 0.75 ม.
7. ตรวจเช็คเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
7.1.หลอดไฟ อุปกรณ์เครื่องวัดของControl Panel
7.2.อุปกรณ์ป้องกันขั้วต่อต่าง ๆ
7.3.สายดิน ระบบการต่อลงดิน ถูกต้องหรือไม่
7.4.น้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันหล่อลื่น น้ำหล่อเย็น
7.5.กรองอากาศ สายพาน ซีลยางต่าง ๆ
7.6.สิ่งกีดขวาง ระบบระบายอากาศ
7.7.แบตเตอรี่ และชาร์จเจอร
 

บทที่สาม-ส่วนการตรวจรายละเอียดของตู้เมนสวิตซ์บอร์ด  Main Distribution Board

บทที่สาม-ส่วนการตรวจรายละเอียดของตู้เมนสวิตซ์บอร์ด Main Distribution Board


1.ตรวจสอบการติดตั้งระบบอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ถูกต้องตามมาตรฐาน เช่น ขนาดสาย การเดินสายไฟ จุดต่อสาย และ Terminal, ขัน
Bolt&Nut ให้แน่น เช็คเบรกเกอร์ ขนาดพิกัด ตรวจค่าพลังงานทางไฟฟ้า
2.ทดสอบค่าความเป็นฉนวนของสายไฟฟ้า (Insulation Test)
3.ตรวจเช็คขนาดกระแสของเมนสวิทซ์และสายเมน พิกัดตัดกระแสจัดวงจรของเมนส วิทซ์ การติดตั้งเครื่องป้องกันกระแสรั่วลงดิน สภาพเครื่องห่อหุ้มเมนสวิทซ์ (Main Circuit Breaker)
4.ตรวจเช็คระบบ Capacitor Bank (Test Capacitor Bank)
4.1.ตรวจสอบการทำงานของระบบควบคุมทั้ง Auto/manual
4.2.ตรวจสอบแมคเนติคคอนแทคเตอร์ โดยตรวจ Coil และหน้าสัมผัส
4.3.ตรวจสอบ Fuse Base และ HRC Circuit Breakers
4.4.ทา Compound บริเวณหน้าสัมผัสเพื่อลดความร้อนจุดเชื่อมต่อ
4.5.ตรวจสอบสภาพสายและตรวจขนาดความเหมาะสมของขนาดสายไฟ
4.6.ตรวจสอบสภาพและวัดค่า คาปาซิเตอร์ ( Capacitor Test)
4.7.ตรวจวัดค่าความเป็นฉนวน ( Mega Ohm Test)
4.8.ตรวจสอบการต่อกราวด์ของชุดคาปาซิเตอร์
4.9. ทำความสะอาดและกวดขันนอต
5.ตรวจวัดค่ากระแสไฟฟ้า
6.ถ่ายภาพความร้อน (Thermoscan) ก่อนและหลัง Preventive Mainternance
7.ตรวจเช็คระบบ Capacitor Bank (Test Capacitor Bank)
8.ตรวจสอบการทำงานของระบบควบคุมทั้ง Auto/manual
9. ตรวจสอบแมคเนติคคอนแทคเตอร์ โดยตรวจ Coil และหน้าสัมผัส
10.ตรวจสอบ Fuse Base และ HRC Circuit Breakers
11.ทา Compound บริเวณหน้าสัมผัสเพื่อลดความร้อนจุดเชื่อมต่อ
12.ตรวจสอบสภาพสายและตรวจขนาดความเหมาะสมของขนาดสายไฟ
13.ตรวจสอบสภาพและวัดค่า คาปาซิเตอร์ ( Capacitor Test)
14. ตรวจวัดค่าความเป็นฉนวน ( Mega Ohm Test)
15.ตรวจสอบการต่อกราวด์ของชุดคาปาซิเตอร์
16.ทำความสะอาดและกวดขันนอต
17.ตรวจวัดค่าความเป็นฉนวนของบัสบาร์เมน
18. ตรวจสอบการต่อลงดินและวัดค่าความต้านทาน
19. ตรวจสภาพเครื่องห่อหุ้มตู้สวิทซ์บอร์ดย่อย
20.ตรวจขนาดสายต่อหลักดิน และสภาพสายดิน
21.ตรวจการต่อสายดินกับเครื่องห่อหุ้มและฝาตู้
22.ตรวจสอบขนาดกระแสเมน CB และสายเมน
23.ตรวจวัดลำดับเฟสของสายเมน
24.ทำความสะอาดตู้ อุปกรณ์ และกวดขันนอต
25.ตรวจป้ายชื่อและแผ่นภาพเส้นเดี่ยว
26. ตรวจเครื่องหมายเตือนภัยและปลดวงจร
27.ตรวจการป้องกันสัมผัสที่มีไฟฟ้า
28. ตรวจการป้องกันความชื้นและฝุ่นเข้าแผงสวิทซ์
29.ทำความสะอาดบัสบาร์และกวดขันนอต
30. ตรวจวัดหาความร้อนสะสมตามจุดเชื่อมต่อ
31.ตรวจเช็คถังดับเพลิงภายในห้องไฟฟ้า
32.บำรุงรักษาทำความสะอาดตู้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ (Cleaning)
33.ACB Test, Contact resistance Test, Under Over Voltage Test
34.Machanical and Electrical PM.
35.สรุปผลการตรวจสอบและบำรุงรักษา


บทที่สี่-งานการตรวจบำรุงรักษาในส่วนงานอื่นๆ
บทที่สี่-งานการตรวจบำรุงรักษาในส่วนงานอื่นๆ

 
ระบบเครื่องกล
งานระบบเครื่องกลภายในอาคาร หมายถึง งานที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกลทั้งหลายที่อยู่ในอาคาร ประกอบด้วยระบบต่าง ๆ ดังนี้

1.ระบบปรับอากาศ และระบายอากาศ
 ชนิดของระบบปรับอากาศ
1. ระบบปรับอากาศแบบขยายตัวรับร้อนตรง (Direct Expansion)

1.1.1 เครื่องปรับอากาศแบบหน้าต่าง (Window Type)
-มีอุปกรณ์หลักของวงจรการทำความเย็นทุกอย่างควบคุมอยู่ในเครื่องเดียวกัน
-ออกแบบให้เหมาะสำหรับกับการติดตั้งที่หน้าต่าง ผนัง โดยให้ด้านความเย็นอยู่ด้านในห้อง และส่วนด้านระบายความร้อนจะโผล่ยื่นออกไปนอกห้อง
-เป็นเครื่องขนาดเล็กประมาณ 1-2 ตัน เป็นแบบระบายความร้อนด้วยอากาศ
-ติดตั้งง่าย แต่มีเสียงดัง

1.1.2 เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน (Split Type) มีส่วนประกอบหลักอยู่ 4 ส่วน
1.ส่วนที่อยู่นอกห้อง เรียกว่า ชุดคอยล์ร้อน Condensing Unit จะมีส่วนประกอบภายในคือ Compressor เป็นหลัก และอุปกรณ์ย่อยเช่น คอยล์ระบายความร้อน พัดลมระบายความร้อน ชุดอุปกรณ์ระบบน้ำยา ชุดวาล์ว และตัวถังเครื่อง
2.ส่วนที่อยู่ภายในห้องเรียกว่า ชุดเป่าลมเย็น Fan coil unit มีส่วนประกอบหลัก คือ คอยล์เย็น พัดลมเป่าลมเย็น ชุดปรับแรงดันน้ำยา ถาดรับน้ำ และตัวถังเครื่องเป่าลมเย็นFan coil unit มีอยู่หลายแบบคือ
-แบบติดผนัง
-แบบแขวนใต้ฝ้า/ตั้งพื้น
-แบบแขวนซ่อนในฝ้า
-แบบแขวนเหนือฝ้าเพดาน
3. ระบบท่อน้ำยา มีส่วนประกอบหลัก คือ ท่อน้ำยา และฉนวนหุ้มท่อน้ำยา
4. ระบบไฟฟ้า และระบบควบคุม มีอุปกรณ์ประกอบ คือสวิตซ์ตัดคอมอัตโนมัติ Circuit Breaker ชุดควบคุมอุณหภูมิ Thermostat ชุดปิดเปิด และตั้งอัตราเร็วพัดลม

1.1.3 เครื่องปรับอากาศแบบสำเร็จครบชุดในตัว (Package Unit)
1.ลักษณะคล้ายกับ แบบหน้าต่าง แต่มีขนาดใหญ่กว่า โดยทั่วไปมีขนาด ประมาณตั้งแต่ 5-30 ตัน
2.การระบายความร้อน มีทั้ง ระบายความร้อนด้วยอากาศ (Package Air Cooled Air-Conditioner) กับระบายความร้อนด้วยน้ำ(Package Water Cooled Air-Conditioner)
3. การส่งลมเย็น โดยส่วนมาก จะส่งผ่านท่อลม
4.นอกจากนี้ยังมีชนิดที่ตั้งบนหลังคา ซึ่งเรียกว่า Roof type

-การติดตั้งเครื่องปรับอากาศ
1. การติดตั้งชุดคอยล์ร้อน
-สถานที่ติดตั้งต้องให้อากาศถ่ายเทได้ดี ไม่เกิดลมย้อนกลับ
-ไม่อยู่ห่างจากชุดคอยล์เย็นมากเกินไป
-ไม่อยู่สูงมากกว่าชุดคอลย์เย็นมากเกินไป
2.การติดตั้งชุดเป่าลมเย็น
-ตำแหน่งติดตั้งต้องกระจายลมได้ดี
-สามารถเข้าซ่อมแซมภายหลังได้โดยง่าย
-สามารถถอดแผงกรองอากาศได้โดยง่าย
3. การติดตั้งท่อน้ำยา ท่อน้ำทิ้ง และระบบควบคุม
-ต้องทำ Invert Loop ป้องกันน้ำยาเหลวไหลกลับ
-ต้องทำ U-trap ทุกระยะ 3 เมตร เพื่อให้น้ำมันหล่อลื่นไหลกลับ
-Thermostat ต้องอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม
-การบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ แยกเป็น 3 ส่วนคือ
1. ส่วนชุดคอยล์ร้อน Condensing unit
-ต้องไม่มีสิ่งกีดขวางทางระบายลม
-ทำความสะอาดครีบระบายความร้อนให้สะอาดอยู่เสมอ
2. ส่วนชุดเป่าลมเย็น Fan coil unit
-ควรล้างแผงกรองอากาศ
-ควรทำความสะอาดครีบคอยล์เย็น
-ควรทำความสะอาดพัดลมเป่าลมเย็น
-ควรทำความสะอาดถาดน้ำทิ้ง
3. ส่วนท่อน้ำยา ท่อน้ำทิ้ง ระบบไฟฟ้า และระบบควบคุม
-ตรวจสอบระบบท่อน้ำยา ฉนวนหุ้มท่อน้ำยา ระดับน้ำยา
-ตรวจสภาพแนวสายไฟฟ้า จุดต่อสาย ปริมาณกระแสไฟฟ้า
-ควรปรับเปลี่ยนอุณหภูมิที่ตั้งไว้บ้างเป็นบางครั้ง
 
2 ระบบปรับอากาศแบบเครื่องทำน้ำเย็น (Water Chiller)

1. วงจรทำความเย็นเบื้องต้น ของเครื่องทำน้ำเย็น เหมือนกับเครื่องปรับอากาศทั่วไป แต่แทนที่ชุด Chiller จะทำความเย็นให้กับอากาศในห้องโดยตรง ก็นำไปทำความเย็นให้กับน้ำก่อน แล้วจึงนำน้ำเย็นที่ได้นั้นเป็นตัวกลาง ส่งผ่าน ระบบท่อน้ำ ไปยังเครื่องส่งลมเย็นอีกต่อหนึ่ง
2. สามารถสูบน้ำเย็น ส่งไปยังเครื่องส่งลมเย็นได้โดยง่าย
3. เครื่องทำความเย็น มีทั้ง
3.1เครื่องน้ำเย็น แบบระบายความร้อนด้วยอากาศ Air-Cooled Water Chiller) มีส่วนประกอบสำคัญ ดังนี้
1. เครื่องทำน้ำเย็น (Water Chiller)
2. เครื่องสูบน้ำเย็น (Chill Water Pump)
3.เครื่องส่งลมเย็น (Fan Coil Unit/Air Handling Unit)
4. ระบบท่อน้ำเย็น และอุปกรณ์ เช่น ฉนวน วาวล์ ข้อต่อต่าง ๆ
5. ระบบไฟฟ้า และระบบควบคุม
6. ระบบถังเติมสารเคมี
3.2เครื่องน้ำเย็น แบบระบายความร้อนด้วยน้ำ Water-Cooled Water Chiller) มีส่วนประกอบสำคัญ ดังนี้
1. เครื่องทำน้ำเย็น (Water Chiller)
2. หอระบายความร้อน (Cooling Tower)
3. เครื่องสูบน้ำเย็น (Chill Water Pump)
 
งานตรวจสอบบำรุงรักษา หม้อแปลงไฟฟ้า

งานตรวจสอบบำรุงรักษา หม้อแปลงไฟฟ้า


-ตรวจตัวถังหม้อแปลงไฟฟ้า
-การรั่วซึมรอบนอกของหม้อแปลงไฟฟ้า
-ตรวจชุดกรองความชื้น
-ตรวจบุชชิ่งแรงสูง – แรงต่ำ
-ขั้วต่อสายไฟเข้า - ออก ด้านแรงสูงและแรงต่ำ
-ปรับแรงดันไฟฟ้า
-ที่วัดระดับน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้า
-ตรวจเครื่องวัดอุณหภูมิหรือเทอร์โมมิเตอร์
-ตรวจอุปกรณ์ความดันของหม้อแปลง
-ตรวจสภาพบุชโฮรีเลย์
-ตรวจค่า Dielectric ของน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้า
 
การตรวจสอบบำรุงรักษาอุปกรณ์ และการตรวจเช็คนี้ มักจะทำกันอย่างน้อยปีล่ะครั้ง หรือทุก 6 เดือน เพื่อประโยชน์ดังนี้

1.เพื่อตรวจสอบอุปกรณ์ทุกอย่างให้อยู่ในสภาพที่ดี และมีความพร้อมจะใช้งาน
2.เพื่อให้อัพเดทระบบให้มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นมากขึ้น
3.ลดความเสี่ยงในการเกิดไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งอาจก่อให้เกิดเพลิงไหม้ขึ้นได้
4.การบำรุงรักษาช่วยทำให้ระบบไฟฟ้ามีควาเสถียรมากยิ่งขึ้น
5.ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาต่ำ ถ้าเปรียบเทียบกับค่าการจัดการวางระบบไฟฟ้าและตัวตู้ไฟฟ้า (ในกรณีที่เกิดเหตุทำให้ต้องวางระบบใหม่)

ดังนี้ผู้ประกอบการจึงควรเล็งเห็นความสำคัญของการจัดให้มีการตรวจสอบบำรุงรักษาอุปกรณ์ และการตรวจเช็คอุปกรณ์ต่างๆอยู่เป็นประจำ เพื่อที่จะช่วยให้การประกอบการธุระกิจราบรื่นจากปัญหาที่มาจากอุปกรณ์ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นนี้
 
QR LINE