การตรวจสอบและบำรุงรักษาเครื่องเชื่อมไฟฟ้า

การบำรุงรักษา

  • ตรวจและบันทึกผลการตรวจเป็นประจำ ตรวจระดับและความชื้นของน้ำมันหล่อเย็นในหม้อแปลง ตรวจดูเศษฝุ่น ผงละอองโลหะต่างๆ การรั่วของกระแสไฟ สภาพแวดล้อมอยู่ในอุณหภูมิที่เหมาะสม ไม่ร้อนหรือแออัดคับแคบเกินไป
  • ป้องกันไม่ให้มีความร้อนเกินขนาด ตรวจสอบด้วยเครื่องวัดกระแสไฟฟ้าเพื่อให้มั่นใจว่าขนาดของกระแสไฟฟ้าที่ใช้ ไม่เกินพิกัดของเครื่องเชื่อม และสายเชื่อม
  • ทำความสะอาดอุปกรณ์เครื่องมืออยู่เสมอ ไม่ดัดแปลงสภาพของตัวเครื่องหรือชุดอุปกรณ์สายเชื่อม-สายดิน
  • ต้องแน่ใจว่าที่เครื่องเชื่อมมีที่ระบายอากาศและพัดลมระบายความร้อนในตัว และต้องใช้งานได้

ข้อปฏิบัติสำหรับช่างเชื่อม

  • ต้องตรวจสอบสายต่อภายนอกเครื่องเชื่อมทุกวัน จดบันทึกและรายงายสิ่งผิดปรกติของชุดสายเชื่อม และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น ลวดเชื่อม อุปกรณ์จับลวด หรืออุปกรณ์ส่วนหัวเชื่อม สายเชื่อม ฉนวนความร้อนที่เกิดขนาด หรือข้อ บกพร่องอื่นๆ
  • ต้องแน่ใจว่า ข้อต่อสายเชื่อมแน่นอยู่เสมอและหน้าสัมผัสต่างๆ ต้องสะอาด
  • ตรวจสอบสภาพสายเชื่อมและสายดิน มิให้เกิดการเสียหายหรือมีรอยรั่ว
  • ใช้งานอย่างถูกต้อง ไม่ดัดแปลงตัวเครื่องเชื่อม สายเชื่อม หรืออุปกรณ์ส่วนอื่นๆ หากมีการชำรุดของอุปกรณ์ต่างๆ ให้รีบเปลี่ยนทันที
  • การเชื่อมที่ใช้กระแสไฟสูงมาก สายไฟที่ใช้ต้องเป็นชนิดที่ทนกระแสสูงสุดในการใช้งานได้
  • หากเครื่องมีปัญหา หรือมีสิ่งผิดปกติ ควรหยุดพักเครื่อง และแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าซ่อมแซมโดยทันที

ตรวจสอบชุดสายเชื่อม

  • การหลุดหลวมของหัวจับลวดเชื่อม, หรืออุปกรณ์ส่วนหัวต่างๆ
  • รอยไหม้ หรือการแตกร้าวของอุปกรณ์
  • ความร้อนเกินขนาด และความเสียหายของสายเคเบิ้ล และชุดอุปกรณ์ส่วนหัวเชื่อม
  • ยึดสายดินให้แน่นกับตัวชิ้นงานด้วยตัวจับชิ้นงาน (Ground Clamp) และมีขนาดของกำลังไฟที่เหมาะสม เช่น 300 แอมป์ 500 แอมป์ เป็นต้น
  • ต้องแน่ใจว่า สายไฟฟ้าที่ใช้ไม่ว่าจะเป็นสายดินหรือสายเชื่อมสามารถทนกระแสไฟฟ้าใช้งานสูงสุดได้

ที่มา : shawpat

 

QR Line@